วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560

18-"การตั้งค่า" ตอนที่ 4 : การจัดการข้อมูล "ข้อคิดเห็น"

"การตั้งค่า" ตอนที่ 4 : การจัดการข้อมูล "ข้อคิดเห็น"

"การตั้งค่า" ตอนที่ 4 : การจัดการข้อมูล "ข้อคิดเห็น"

สวัสดีครับ เพื่อนๆ พบกับตอนที่ 4 เป็น "การตั้งค่า" ในส่วน "ข้อคิดเห็น" หรือในส่วน "แสดงความคิดเห็น" บางเว็บไซต์ก็เรียก "Comment" ก็คือเป็นส่วนที่เวลาเราได้ไปอ่านเจอบทความ แล้วเราต้องการแสดงความคิดเห็น จากนั้นก็พิมพ์แสดงความคิดเห็น หรือได้อ่านแสดงความคิดเห็นของท่านอื่นๆ เป็นต้น
หน้าตาของหน้าเว็บที่ ก็เหมือนกับ 3 ตอนแรกของ "การตั้งค่า"

  • ข้อคิดเห็น : เป็นระบบที่ต้องการให้ผู้สร้างบล็อกนั้นเลือกว่า เวลามีคนแสดงความคิดเห็น แล้วจะให้ "แสดง" หรือ "ซ่อน" ซึ่งก็ควรจะเลือก "ซ่อน" นะครับ เพราะเราควรจะให้เกียรติผู้อ่าน ถ้านึกถึงตัวเรา เวลาไปแสดงความคิดเห็นทีไหน พอพิมพ์เสร็จ ก็ไม่แสดงออกมา คงจะหงุดหงิดแย่เลย
  • ใครสามารถแสดงความคิดเห็น : เป็นส่วนจัดการ ผู้แสดงความคิดเห็น ว่ามาจากไหน ซึ่งมี 4 ข้อย่อย คือ ทุกคน (ผมแนะนำว่า ควรเลือกที่ข้อนี้นะครับ), ผู้ใช้ที่จดทะเบียน (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธมิตรกับทาง Google), ผู้ใช้ที่มีบัญชี Google (เฉพาะผู้ใช้ Blogger เท่านั้น) และ เฉพาะสมาชิกของบล็อกนี้ (ก็คือทั้งเฉพาะผู้ใช้ Blogger และเป็นผู้ที่สร้างบล็อกเป็นคนเชิญ หรือเป็นสมาชิกบล็อกนั้น) ซึ่งตัวอย่างนี้ผมจะยกตัวอย่างตอนท้ายบทความนะครับ
  • การจัดวางฟอร์มความคิดเห็น : เป็นการโชว์ส่วนการแสดงความคิดเห็น เมื่อผู้อ่านต้องการจะแสดงความคิดเห็นดังนี้ เต็มหน้า (จะซ่อนหน้าต่างการแสดงความคิดเห็นไว้ เมื่อกดลิงก์ที่คำว่า "ความคิดเห็น" ที่วางอยู่ด้านล่างสุดของบทความ ซึ่งจะโชว์หน้าต่างมาเต็มหนาจอ), หน้าต่างป๊อปอัป (วิธีแสดง "ความคิดเห็น" ใช้งานเหมือนกับแบบ เต็มหน้า เพียงแต่หน้าต่างที่โชว์ขึ้นมาจะเป็นหน้าต่างป๊อปอัป ขนาดเล็กไม่ใหญ่เกินไป) และ วางไว้ใต้บทความ (จะมีหน้าต่างการแสดงบทความที่ล่างสุดของบทความเลย ดังแสดงในภาพข้างล่างนะครับ) ส่วนตัวผมจะเลือก วางไว้ใต้บทความ นะครับ เพราะทำให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ทันทีครับ จึงสะดวกกับผู้อ่านเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็นครับ



  • ความคิดเห็นเริ่มต้นสำหรับบทความ : ส่วนนี้ผมก็งงๆ นะครับ ยังไม่เคยสังเกตเลยว่ามีผลอย่างไรในการเขียนบทความ จึงอยากบอกเพื่อนๆ ว่า เลือกอะไรก็ได้นะครับ แต่ก็คือ ผมก็ไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงอะไรกับมาตรฐานเดิมที่ทาง logger ได้เซ็ทอัพไว้นะครับ จึงเลือก "บทความใหม่มีความคิดเห็น"
  • ลิงก์ย้อนกลับ : เป็นการแสดงถึง ลิงก์ที่สามารถย้อนกลับ เดินหน้าได้ (อยู่ล่างสุดใต้หน้าต่างการแสดงความคิดเห็นอีกที) ควรเลือก "แสดง" นะครับ เพราะว่า จะทำให้บล็อกทสี่สร้างดูมีฟังก์ชั่นที่น่าใช้งาน ครับ
  • ค่าเริ่มต้นของลิงก์ย้อนกลับสำหรับบทความ : สื่อความหมายตรงตัวนะครับ ดังนั้นควรเลือก "บทความใหม่มีลิงก์ย้อนกลับ"
  • รูปแบบเวลาในส่วนความคิดเห็น : เลือกรูปแบบเวลาตามที่ชอบใจได้เลยครับ
  • ข้อความของฟอร์มความคิดเห็น : คือส่วนที่ให้เราเติมข้อความ หรือประโยค แล้วจะแสดงเหนือหน้าต่างแสดงความคิดเห็น สามารถดูตัวอย่างตรงนี้ บนภาพด้านบนที่ผมวางไว้เหนือคำอธิบายนี้นะครับ


  • การจัดการความคิดเห็น : เป็นส่วนที่ผู้สร้างบล็อกอยากจะตรวจสอบ ความคิดเห็นของผู้มาแสดงความคิดเห็น หรือไม่ ดังนั้นจึงมีให้เราเลือก 3 หัวข้อย่อยคือ 1. ทุกครั้ง (หมายถึงเวลามีการแสดงความคิดเห็น ก็จะต้องส่งมาให้เจ้าของบล็อกตรวจสอบก่อน โดยส่งมาทางอีเมล์ ที่ได้กรอกไว้ตรงที่ช่องเติมข้อความว่า "ที่อยู่อีเมล") 2. เฉพาะบทความที่เก่ากว่า (จำนวน) วัน (เป็นการส่งความคิดเห็นสำหรับบทความที่เคยเขียนไปแล้วกี่วัน ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะกรอกตัวเลขไปกี่วันครับ เช่น เคยเขียนบทความไว้แล้วก่อนหน้า 1 สัปดาห์ แล้วเราลงไว้ 4 วัน เมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็นกับบทความที่ลงมาแล้ว 7 วัน ก็จะส่งมาให้เราได้ตรวจสอบก่อนครับ) 3. ไม่ (ก็คือไม่ต้องตรวจสอบความคิดเห็นเลย เมื่อมีคนแสดงความมคิดเห็น ก็โชว์เดี๋ยวนั้นเลยครับ)
  • แสดงการตรวจสอบคำสำหรับความคิดเห็นหรือไม่ : เป็นส่วนที่ควรตอบว่า "ใช่" เลยนะครับ เพราะว่าจะเป็นการป้องกันพวก robot ที่จะเข้ามาแสดงความคิดเห็นมั่วซั่ว มาขายยาไวอากร้าบ้าง มาขายสินค้า MLM บ้าง เป็นต้นครับ
  • แสดงรูปภาพโปรไฟล์บนความคิดเห็นหรือไม่ : ความหมายตรงตัวครับ ติ๊กหน้าช่อง"ใช่" ไว้ก่อนครับ


  • อีเมลสำหรับแจ้งเตือนเมื่อมีความคิดเห็นใหม่ : ผมแนะนำว่าควรใส่อีเมล์ในช่องว่างนะครับ และเมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็น ระบบของ Blogger จะส่ง "ความคิดเห็น" มาให้เราได้ทราบ ได้รับรู้กันครับ แต่ว่าไม่ได้ตรวจสอบอะไรนะครับ คือเหมือนแจ้งให้เราดูเฉยๆ ครับ
ภาพนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า เหนือหน้าต่างแสดงความคิดเห็นจะโชว์ประโยค "เชิญเพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นของข่าว หรือวีดีโอนะครับ" และตรงที่ตำแหน่ง "แสดงความคิดเห็นในฐานะ" จะเห็นว่ามีให้เลือกแสดงฐานะหลายฐานะ แต่ถ้าต้องแสดงได้หมดแบบนี้ ต้องเลือกในหัวข้อ "ใครสามารถแสดงความคิดเห็น" ว่า "ทุกคน" ตามที่ผมแนะนำไว้ข้างต้นบทความนะครับ
.
ครับก็จบบทความเรื่อง "การตั้งค่า" ส่วน "ข้อคิดเห็น" เรียบร้อยยาวหน่อยนะครับ ตอนหน้าพบกับเรื่องการจัดการ "เก็บเข้าคลังบทความ" กันครับ สั้นๆ ครับ ไม่ยาวเท่าบทความนี้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น