วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Blog : 2.ประเภทของบล็อก

Blog : 2.ประเภทของบล็อกในโลกของสังคมข่าวสารปัจจุบัน บล็อก เป็นอีกปัจจัยสำคัญของ Social network ที่มีอิทธิพลต่อวงการธุรกิจ วงการข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งแวดวงการศึกษา จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของบล็อกประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นบล็อกส่วนตัว ไปจนถึงบล็อกขององค์กร/ธุรกิจ จะมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเกิดของ สังคมแห่งการแบ่งปัน ที่มีทั้งผู้ต้องการสาระเนื้อหา ผู้ที่เผยแพร่เนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหลากหลายประเภทหรือหลากหลายมุมมอง หรือชื่นชมผลงานส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ผลงานรูปภาพ งานกราฟิก งานมัลติมีเดียต่างๆ ไปจนถึงบล็อกขององค์กร / ธุรกิจ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ 


การสร้างบล็อกอาศัยวิธีการ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.สร้างจากโปรแกรมบล็อกหรือซอฟท์แวร์บล็อกประเภทนี้ ผู้สร้างต้องทำการติดตั้งซอฟท์แวร์ที่มีให้ดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ต มีทั้งให้ใช้งานฟรี และแบบเสียค่าบริการรายปี โปรแกรมที่นิยมใช้งานมากๆ ได้แก่ WordPressJoomla,Mambo และ Lifetype เป็นต้น 
2.สร้างจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการออนไลน์
เป็นอีกประเภทที่มีผู้นิยทใช้งานมากที่สุด เนื่องด้วยใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ทำงานค่อนช้างรวดเร็ว แบบนี้ ท่านต้องเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ผู้ให้บริการก่อน ได้แก่ GotoKnowBloggangOKnation BlogWordPress/Windows Live หรือ Blogger บล็อกฟรีที่ท่านกำลังอ่านแห่งนี้ของค่าย Google 





บล็อกมีกี่ประเภทหากจะมีการแบ่งประเภทของบล็อกในปัจจุบัน ก็มีหลากหลายทฤษฎี หลากหลายแบบมีการแบ่งกลุ่ม ต่างๆกัน ซึ่งก็ไม่มีแบบไหนถูกหรือผิด
 
เอาแบบกว้างๆ ก็เป็นการแบ่งประเภทตามลักษณะการเผยแพร่ อาทิ บล็อกส่วนตัว เฉพาะบันทึกเพื่อดู/อ่านเองหรือในครอบครัว กับบล็อกแบบสาธารณะ เผยแพร่ ต่อสังคมโลก ที่คนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูล อ่าน หรือ แสดงความคิดเห็นได้
 
บางแห่ง แบ่งตามรูปแบบของเนื้อหาหรือกลุ่มสนใจ (การถ่ายภาพ การส่องนก การท่องเที่ยว การดำน้ำ การขับรถ การทำอาหาร....) 

บางแห่งก็แบ่งไปตามประเภทของเนื้อหาของสื่อ(สิ่งพิมพ์ เสียง วิดีโอ ภาพถ่าย งานกราฟิก)  

แต่ที่เห็นค่อนข้างชัดจะแบ่งไปตามประเภทของเนื้อหาหรือกลุ่มสนใจ เรามาดูกันว่า มีอะไรกันบ้าง

 ที่ WordPress.com ได้กำหนดประเภทของบล็อกไว้ ดังนี้


•Personal:
จัดเป็นหมวดหมู่ที่ค่อนข้างกว้างเป็นบล็อกที่นำเสนอด้านความคิดเห็น การบันทึก ในเรื่องต่างๆของผู้สร้างบล็อก ตามความชอบ อาจจะเน้นในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ด้านการเมือง, เพลง, ครอบครัว, ท่องเที่ยว, สุขภาพ และแนวคิด


•Business:
กลุ่มนี้ จะนิยมในซีกโลกตะวันตก เพื่อนำเสนอ แบ่งปันความรู้ หรือแนะนำอัตลักษณ์ด้านธุรกิจของบริษัท ด้านการเงิน การธนาคาร กฎหมาย การเล่นหุ้น รวมถึงการนำเสนอ การแนะนำให้กับลูกค้าหรือผู้สนใจทั่วไป


•Schools:
หมวดนี้อาจจะไม่ถือเป็น education นัก แต่จะมีจุดประสงค์หลักสำหรับใช้ในการจัดการศึกษา การทำห้องเรียนเสมือนที่ ครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถมาเรียรู้ร่วมกัน หรือนำเสนอแนวคิด ระดมความคิดเห็น ตอบข้อสงสัยของผู้เรียน ซึ่งถือเป็นอีกวิธีการที่ดีสำหรับครูผู้สอนและผู้เรียนจะได้ทำงานร่วมกันในบล็อกนี้



•Non-profits:
เป็นบล็อกที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงาน องค์กร มูลนิธิการกุศลต่างๆ ที่ไม่มุ่งหวังทางการค้า หากำไรในการดำเนินการ ซึ่งบล็อกเหล่านี้ จะเป็นช่องทางในการระดมทุน การรวมตัวของกลุ่มคน กลุ่มชน เพื่อการสร้างสรรงานที่เป็นการกุศลในด้านต่างๆ


•Politics:
แต่เดิมในบล็อกกลุ่มนี้ทางฝั่งซีกโลกตะวันตกจะใช้บล็อกสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง อาทิ การติดต่อสื่อสาร การส่งข่าวสาร ความเคลือนไหว ผ่านบล็อก แต่ในปัจจุบัน หมายรวมถึงการนำเสนอเรื่องราว แนวคิด บทวิเคราะห์ บทวิจารณ์ด้านการเมืองโดยเฉพาะ


•Military:
บล็อกกิจการทหาร ถือกำเนิดจากที่ใช้เป็นเวทีในการบอกเล่ารายละเอียด การรายงานแบบไม่เป็นทางการ ในสิ่งต่างๆที่กองทหาร(ซีกโลกตะวันตก) ไปประจำการยังต่างแดน โดยจะรายงานสิ่งที่พวกเขาเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลก นอกจากนี้ยังใช้เป็นอีกช่องทางในการติดต่อกับครอบครัวของพวกเขาด้วย


•Private:
บล็อกประเภทนี้ถือเป็นบล็อกอยู่ในวงแคบ เพื่อจุดประสงค์ในการจดบันทึกส่วนตัว หรือแบ่งปันในเรื่องเฉพาะกับกลุ่มของตน อาทิแบ่งปันภาพถ่าย วิดีทัศน์ หรือข้อมูลภายในครอบครัว, ภายในองค์กร ภายในบริษัท หรือสถานศึกษาเท่านั้น



 
 

•Sports:
เป็นอีกบล็อกที่นำเสนอเรื่องราวด้านกีฬา โดยเฉพาะ อาทิ สโมสรกีฬา ที่จะมีการนำเสนอนักกีฬาที่มีผู้นิยมชมชอบ เป็นแฟนกีฬาในสโมสรหรือเฉพาะตัวได้ติดต่อ หรือการแสดงออก การแสดงความรู้สึกของแฟนกีฬา ถึงตัวนักกีฬาโดยตรง


•How-to, tips and reviews:
เป็นอีกกลุ่มของบล็อกที่มีความหลากหลาย มีผู้ทำขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เพื่อนำเสนอเรื่องราว เทคนิค เคล็ดลับ วิธีการส่วนตัว หรือรวบรวมมาบอกเล่า เผยแพร่ แบ่งปันประสบการณ์ ในเรื่องราวต่างๆ อาทิ ในกลุ่มไอที กลุ่มเครื่องยนต์ รถยนต์ การประกอบอาหาร เกม เพลง หนังสือ ภาพยนตร์ เป็นต้น




นอกจากนี้ยังรูปแบบการแบ่งประเภทของบล็อกในกฎเกณฑ์อื่นๆอีก ลองศึกษาดูนะครับ

http://www.profkrg.com/26-types-blog-posts
http://blogambitions.com/blogs-with-highest-searches/
http://www.socialmediaexaminer.com/12-types-of-blog-posts/

http://writetodone.com/the-7-types-of-blogger-which-one-are-you/
https://blog.leadpages.net/types-of-blogs/
http://www.socialmediaexaminer.com/12-types-of-blog-posts/
http://www.problogger.net/archives/2011/09/03/52-types-of-blog-posts-that-are-proven-to-work/
 
 

การเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน : CAI

การเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน : CAI

การเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน : CAI

 

  • ปัจจุบันพบว่า มีความสับสนในด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในหลากหลายด้าน อาทิ ในเรื่องของนวัตกรรมทางการศึกษา มีความสับสนกันระหว่าง ระบบและวิธีการเรียนรู้ (Systems approach to learning) กับสื่อการเรียนรู้ (Media for learning) นักการศึกษาหลายรายมองเห็น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีสถานะเพียงแค่ สื่อ ซึ่งแท้จริงแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) ซึ่งชื่อก็บอกชัดเจนว่าช่วยในการสอน จึงเป็นมากกว่าสื่อ จะถือได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น คือ ระบบการเรียนรู้


  • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือที่รู้จักในชื่อของ CAI (Computer Assisted Instruction) เป็น นวัตกรรมที่อยู่ในรูปของระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง และอยู่ในลักษณะสื่อการเรียนการสอนด้วยเช่นกัน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจัดเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมานาน มากกว่า 20 ปี ที่ครั้งหนึ่งถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่เฟื่องฟูมากๆ ในวงการศึกษาโดยเฉพาะครู รวมถึงวงการธุรกิจเพื่อการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร ในยุคนั้นถือได้ว่า CAI เป็นสื่อที่อยู่ในรูปของ CD-Rom Based System การสร้างชุดคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระยะแรก เป็นการพัฒนาจากโปรแกรมทางภาษา และจากโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ (โปรแกรม Authorware, Director, ToolBook หรือแม้กระทั่งโปรแกรม Flash) แม้ว่า CAI เต็มระบบจริงๆ จะดูเหมือนตายไปจากวงการศึกษา แต่ CAI ที่อยู่ในลักษณะสื่อเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาสั้นๆขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า หน่วยความรู้เฉพาะเรื่อง(learning object) ยังคงมีผู้สร้างนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสามารถศึกษาเรียนรู้เรื่อง learning object 

  • ส่วนโปรแกรมพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ จากเว็บไซต์ผู้ผลิตด้านล่าง

Adobe Authorware จัดเป็นโปรแกรมประเภท Authoring System ที่ใช้ ในการสร้างสื่อบทเรียน ช่วยสอนที่สมบูรณ์ที่สุด ผู้สร้างสามารถเรียบเรียงวางชิ้นส่วนบนเส้นสร้างงานได้อย่างอิสระ สามารถนำไปสร้างสรรงานนำเสนอประสิทธิภาพสูง รองรับการสร้างงานลักษณะ Multimidia มีทั่งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง เสียงอธิบาย Sound Effect และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โปรแกรมได้ หลายรูปแบบ ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าปัจจุบัน Authorware จะขาดการพัฒนามานาน คงอยู่ที่เวอร์ชั่น 7 แต่ก็ถือได้ว่าเป็นโปรแกรมที่ตอบสนองการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐาน SCORM ที่ดีที่สุดโปรแกรมหนึ่ง

Adobe Director เป็นโปรแกรมสร้างมัลติมีเดียที่มีประสิทธิภาพสูง ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นโปรแกรมที่รองรับชิ้นส่วนของสื่อที่หลากหลายนำเข้ามาแสดงผลได้อย่างลงตัว และใช้งานร่วมกันได้เป็น อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพ ประเภทต่างๆทั้ง vector และ bitmap สนับสนุน มัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Windows Media, RealMedia, QuickTime, Flash รวมถึงการเข้าถึงข้อมูล DVD-Video ได้ อีกด้วย สร้างสรรงานได้ดี อย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยการใช้ภาษา JavaScript และ ภาษา Lingo อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะของ Director เอง ผลงานที่ได้สามารถ deploy ลง บน CD-R, DVD หรือ Intranet ภายในองค์กร หรือจะทำการเผย แพร่ไปสู่ website ที่มีผู้ใช้งานไฟล์ของ director นี้มากกว่า 300 ล้านรายทั่ว โลกในรูปแบบ Shockwave Player



Adobe Flash เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในด้านการสร้างภาพเคลื่อนไหว ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Adobe (เดิมคือ Macromedia ค่ายเดียวกับ Authorware) ซึ่งได้พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือต่างๆ ให้มีความสามารถใช้งานได้สะดวก สามารถใช้ผลิตสื่อการสอนเชิงโต้ตอบ (Interactive), สื่อ Presentation, เกม, แบบทดสอบ, e-book, website, Streaming Video, ฐานข้อมูล, งานกราฟิก และสร้างภาพเคลื่อนไหว หรือแม้แต่ภาพยนตร์การ์ตูนเอนิเมชั่น




Toolbook เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปตัวหนึ่งที่ใช้สำหรับพัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ดีอีกโปรแกรม ลักษณะเฉพาะเป็นโปรแกรมมีความยืดหยุ่น สามารถดำเนินเรื่องราวได้ตามที่ได้วางแผนไว้ รองรับการใช้ภาษาคำสั่งเฉพาะในแต่ละวัตถุที่ หน้าแสดงผล (Page) หรือพื้นหลัง นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างพร้อมใช้ (Widgets) เพื่อช่วยในการสร้างงาน และแบบฝึกหัดในรูปแบบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน ToolBook ได้พัฒนาให้สามารถบันทึกไฟล์ในรูปแบบ HTML เพื่อแสดงผลทางอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี และยังสามารถสร้างสื่อนำเสนอ(Presentations)ได้น่าสนใจอีกด้วย



Adobe Captivate เป็นอีกโปรแกรมในการสร้างสื่อการเรียนการสอนที่สนองต่อ กระบวนการพัฒนาสื่อที่ดีอีกโปรแกรมหนึ่ง รองรับการพัฒนาสื่อแบบมัลติมีเดีย ด้วย animation เช่นเดียวกับ Adobe flash ลักษณะที่สำคัญมีชุดสร้างสรรงานที่สามารถกำหนดการโต้ตอบ(คล้ายคลึง CourseBuilder และ Authorware)กับผู้ใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังรองรับการสร้างสื่อจำลองสถานการณ์ แบบ simulation การสร้างแบบทดสอบหลากหลายแบบตามมาตรฐาน SCORM การสร้างสื่อจากสื่อนำเสนอ powerpoint และยังสามารถสร้างสรรงานได้อีก หลายรูปแบบ ถือได้ว่าเป็นโปรแกรมที่สร้างงานค่อนข้างง่าย เป็นอีกโปรแกรมที่มีผู้นำไปพัฒนา Learning Object สื่อการเรียนรู้ของทศวรรษนี้


นอกจากโปรแกรมดังที่กล่าวในข้างต้น ยังมีอีกหลายโปรแกรมที่ถูกผลิต พัฒนามาให้นักพัฒนาสื่อได้เลือกใช้ ซึ่งท่านสามารถ ศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ หรือ นิตยสารด้านคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป สำหรับผู้ที่คิดจะพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากจะต้องมีทักษะ ในการออกแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้แล้ว ยังต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้โปรแกรม หรือภาษาคำสั่งเป็นอย่างดี

ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สำหรับคำ ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้หลากหลายดังนี้

+ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือโปรแกรมช่วยสอน คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอันหนึ่ง CAI คล้ายกับ สื่อการสอนอื่น ๆ เช่น วิดีโอช่วยสอน บัตรคำช่วยสอน โปสเตอร์ แต่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะดีกว่าตรงที่ตัวสื่อการสอน ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์นั้น สามารถโต้ตอบกับนักเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งเพื่อมาปฏิบัติ ตอบคำถามหรือไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นฝ่ายป้อนคำถาม (นัยนา เอกบูรณวัฒน์, 2539)

+  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Assisted Instruction) หมายถึง การประยุกต์นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้น เพื่อนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเสนอแบบติวเตอร์ (Tutorial) แบบจำลองสถานการณ์ (Simulations) หรือแบบการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) เป็นต้น การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรง ไปยังผู้เรียนผ่านทางจอภาพหรือแป้นพิมพ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม วัสดุทางการสอนคือโปรแกรมหรือ Courseware ซึ่งปกติจะถูกจัดเก็บไว้ในแผ่นดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่องพร้อมที่จะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา การเรียนในลักษณะนี้ ในบางครั้งผู้เรียนจะต้องโต้ตอบ หรือตอบคำถามเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการพิมพ์ การตอบคำถามจะถูกประเมินโดยคอมพิวเตอร์ และจะเสนอแนะขั้นตอนหรือระดับในการเรียนขั้นต่อ ๆ ไป กระบวนการเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ (ศิริชัย สงวนแก้ว, 2534)
+  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมการเรียน การเรียนการสอนที่ผ่านคอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ตาม กล่าวได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI มีคำที่ใช้ในความหมายเดียวกันกับ CAI ได้แก่ Computer-Assisted Learning (CAL) , Computer-aided Instruction (CaI) , Computer-aided Learning (CaL) เป็นต้น (Hannafin & Peck, 1988)

+  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือบทเรียนซีเอไอ (Computer-Assisted Instruction; Computer-Aided Instruction : CAI) คือ การจัดโปรแกรมเพื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ เป็นสื่อช่วยถ่ายโยงเนื้อหาความรู้ไปสู่ผู้เรียน และปัจจุบันได้มีการบัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกสื่อชนิดนี้ว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน” (วุฒิชัย ประสารสอน, 2543)

จากความดังกล่าว สามารถสรุปความหมายของ “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” หรือ CAI คือ การนำคอมพิวเตอร์ มาเป็นเครื่องมือสร้างให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปเรียนด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ ในโปรแกรมประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ลักษณะของการนำเสนอ อาจมีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีหรือเสียง เพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการแสดงผลการเรียนให้ทราบทันทีด้วยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียน และยังมีการจัดลำดับวิธีการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละคน ทั้งนี้จะต้องมีการวางแผนการในการผลิตอย่างเป็นระบบในการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบที่แตกต่างกัน

นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองยังมีลักษณะที่เรียกว่า “บทเรียนสำเร็จรูป” แต่เป็นบทเรียนสำเร็จรูปโดยการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางแทนสิ่งพิมพ์หรือสื่อประเภทต่าง ๆ ทำให้บทเรียนสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์มีศักยภาพเหนือกว่าบทเรียนสำเร็จรูปในรูปแบบอื่น ๆ ทั้งหมดโดยเฉพาะมีความสามารถที่เกือบจะแทนครูที่เป็นมนุษย์ได้ มีขั้นตอนการสร้าง และการพัฒนาบทเรียนเช่นเดียวกับบทเรียนสำเร็จรูปประเภทอื่น ๆ (ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, 2528)

จากลักษณะของสื่อที่เป็น “บทเรียนสำเร็จรูป” และสื่อที่เป็น “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” จึงสามารถสรุปเป็นความหมายของ “บทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์การสอน” (Computer Instruction Package :CI Package ) ว่าหมายถึง บทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นในลักษณะซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) นำไปสอน (Instruction) เนื้อหาใหม่ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนบทเรียน หรือนำเสนอบทเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถของตนเอง ในบทเรียนมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จุดเด่นที่สำคัญของบทเรียน คือ การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะหลายสื่อ (Multimedia) ได้แก่ประเภท ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพวิดีโอ (Video) และเสียง (Audio) โดยที่ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับบทเรียนโดยผ่านเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา (ศิริชัย นามบุรี, 2542)

คำภาษาอังกฤษที่ใช้เรียก คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่
Computer Assisted Instruction (CAI),
Computer Aided Instruction (CAI),
Computer Assisted Learning (CAL),
Computer Aided Learning (CAL),
Computer Based Instruction (CBI),
Computer Based Training (CBT),
Computer Administered Education (CAE) ,
Computer Aided Teaching (CAT)
แต่คำที่นิยมใช้ทั่วไปในปัจจุบัน
Computer Assisted Instruction หรือ CAI


ลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบรายบุคคล ที่นำเอาหลักการของบทเรียนโปรแกรมและ เครื่องช่วยสอนมาผสมผสานกัน รูปแบบของสื่อ ถูกออกแบบให้ทำงานภายใต้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ข้อมูลการเรียนรู้ จะอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูลที่นำมาลง หรือติดตั้ง ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อาจจะเล่นบนแผ่น CD-Rom/DVD โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนอง ในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นรายบุคคล
โดยมีคุณลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญ แบ่งเป็น
+ การนำเข้าสู่บทเรียน
+ การนำเสนอสาระเนื้อหา
+ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมกับผู้เรียนรู้
+ การทดสอบประเมินผล

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) นับเป็นกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดหลักการที่สำคัญที่เรียกว่า 4 Is อันได้แก่
1. Information คือ ความเป็นสารสนเทศในตัวเอง
2. Interactive การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้เรียน
3. Individual คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. Interactive คือ การตอบสนองโดยทันที



ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบ่งไปตามลักษณะวิธีการนำเสนอเนื้อหา
มีผู้แบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้หลากหลาย บ้างก็ 5 แบบ 7 แบบ ซึ่งก้แตกต่างกันบ้าง คล้ายกันบ้าง ซึ่งในเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และไพบูลย์ เกียรติโกมล ได้แบ่งตามลักษณะของวิธีการนำเสนอเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอน เป็น 8 ประเภท ดังนี้

1. แบบการสอน (Instruction)เพื่อใช้สอนความรู้ใหม่แทนครู ซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบ Self Study Package เป็นรูปแบบของการศึกษาด้วยตนเอง จะเป็นชุดการสอนที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง และทักษะในการพัฒนาที่สูงมาก เพราะจะยากเป็นทวีคูณกว่าการพัฒนาชุดการสอนแบบโมดูลหรือแบบโปรแกรมที่เป็นตำรา ซึ่งคาดว่าจะมีบทบาทมากในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะ IMMCAI :Interaction Multi Media CAI บน Internet

2. แบบสอนเสริมหรือทบทวน (Tutorial)เป็นบทเรียนเพื่อทบทวนการเรียนจากห้องเรียนหรือจากผู้สอนโดยวิธีใด ๆ จากทางไกล หรือทางใกล้ก็ตาม การเรียนมักจะไม่ใช่ความรู้ ใหม่ หากแต่จะเป็นความรู้ที่เคยได้รับมาแล้วในรูปแบบอื่น ๆแล้วใช้บทเรียนซ่อมเสริมเพื่อตอกย้ำ ความเข้าใจที่ถูกต้องและสมบูรณ์ดีขึ้น สามารถใช้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ดังนั้น CAI ประเภทนี้จึงไม่สามารถนำมาสอนแทนครูได้ทั้งหมด เพียงแต่นำมาใช้สอนเสริมหรือใช้ทบทวนในรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนมาแล้วในชั้นเรียนปกติ

3. แบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติ (Drill and Practice)
เพื่อใช้เสริมการปฏิบัติหรือเสริมทักษะ กระทำบางอย่างให้เข้าใจยิ่งขึ้นและเกิดทักษะที่ต้องการได้ เป็นการเสริมประสิทธิผลการเรียนของผู้เรียน สามารถใช้ในห้องเรียน เสริมขณะที่สอนหรือนอกห้องเรียน ณ ที่ใด เวลาใดก็ได้ สามารถใช้ฝึกหัดทั้งทางด้านทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งทางช่างอุตสาหกรรมด้วย

4. แบบสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ หรือทดลองจากสถานการณ์ที่จำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกล ไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอน ใช้เสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ได้ เวลาใด ก็ได้

5. แบบสร้างเป็นเกม (Game) การเรียนรู้บางเรื่อง บางระดับ บางครั้ง การพัฒนาเป็นลักษณะเกม สามารถเสริมการเรียนรู้ได้ดีกว่า การใช้เกมเพื่อการเรียน สามารถใช้สำหรับการเรียนรู้ความรู้ใหม่หรือเสริมการเรียนในห้องเรียนก็ได้ รวมทั้งสามารถสอนทดแทนครูในบางเรื่องได้ด้วย จะเป็นการเรียนรู้จากความเพลิดเพลิน เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีระยะเวลาความสนใจสั้น เช่น เด็ก หรือในภาวะสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย เป็นต้น

6. แบบการแก้ปัญหา (Problem Solving)เป็นการฝึกการคิด การตัดสินใจ สามารถใช้กับวิชาการต่างๆ ที่ต้องการให้สามารถคิดแก้ปัญหา ใช้เพื่อเสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ในการฝึกทั่วๆไป นอกห้องเรียนก็ได้ เป็นสื่อสำหรับการฝึกผู้บริหารได้ดี

7. แบบทดสอบ (Test) เพื่อใช้สำหรับตรวจวัดความสามารถของผู้เรียน สามารถใช้ประกอบการสอนในห้องเรียน หรือใช้ตามความต้องการของครู หรือของผู้เรียนเอง รวมทั้งสามารถใช้นอกห้องเรียน เพื่อตรวจวัดความสามารถของตนเองได้ด้วย

8. แบบสร้างสถานการณ์เพื่อให้ค้นพบ (Discovery) เป็นการจัดทำเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ จากประสบการณ์ของตนเอง โดยการลองผิดลองถูก หรือเป็นการจัดระบบ นำล่องเพื่อชี้นำสู่การเรียนรู้ สามารถใช้เรียนรู้ความรู้ใหม่หรือเป็นการทบทวนความรู้เดิม และใช้ ประกอบการสอนในห้องเรียนหรือการเรียนนอกห้องเรียน สถานที่ใด เวลาใด ก็ได้
(ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และไพบูลย์ เกียรติโกมล, 2539)


ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบ่งไปตามจุดประสงค์การสร้าง รูปแบบจะเหมือนกับการออกแบบ บทเรียนโปรแกรม เพียงแต่ CAI สามารถที่จะก้าวข้มไปได้รวดเร็ว สามารถมีปฏิสัมพัธ์กับผู้เรียนทันทีทันใด และสามารถคำนวน กำหนดเส้นทางให้ผู้เรียน ศึกษาเรียนรู้เนื้อหา ไปตามโครงสร้าง เงื่อนไขของความรู้ โดยอัตโนมัติ โดยมีรูปแบบ 3 รูปแบบ คือ

1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง (linear program) 
บทเรียนชนิดนี้ มีลักษณะที่เรียบง่าย มีการเรียงลำดับเนื้อหา โดยผู้เรียนต้องเริ่มเรียนตั้งแต่เรื่องแรก สาระแรก และกิจกรรมแรก เรียงไปจนครบ ซึ่งผู้เรียนจะไม่สามารถข้ามลำดับเนื้อหาได้ บทเรียนสำเร็จรูปแบบนี้ ออกแบบง่าย ไม่ยุ่งยาก   แต่บทเรียนแบบเส้นตรงจะไม่สนองต่อผู้เรียนที่มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาบางส่วน จึงไม่สามารถก้าวข้ามเนื้อหาได้

ลักษณะของการเรียนบทเรียนเป็นแบบให้ความรู้ แล้วติดตามด้วยกิจกรรมตอบคำถาม หากผู้เรียนตอบผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใด จะถูกกำหนดให้ย้อนกับไปทบทวนหรือศึกษาในเนื้อหานั้นๆก่อน จนกว่าจะสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง จึงจะมีสิทธิ์ไปศึกษาเรียนรู้ในเนื้อหาถัดไปได้
บทเรียนแบบเส้นตรงเหมาะสำหรับการเรียนรู้ที่ต้องใช้ความจำ ความเข้าใจ เป็นหลัก ไม่เหมาะกับการเรียนรู้แบบความเข้าใจ

2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา (branching program) 
เป็นบทเรียนที่มีการจัดเนื้อหาเป็นส่วนๆ เช่นเดียวกับแบบเส้นตรง แต่จะทำการออกแบบลำดับเนื้อหา พร้อมตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน หากผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมผ่าน ก็จะมีคำสั่งให้ผู้เรียนไปศึกษาในเนื้อหาถัดไป หรือข้ามเนื้อหาบางเรื่องไป  แต่ถ้าผู้เรียนยังสับสน ไม่เข้าใจเนื้อหาพื้นฐาน ก็จะกำหนดให้ไปศึกษายังจุดที่เป็นสาระพื้นฐาน   หรือหากผู้เรียนไม่เข้าใจในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะกำหนดให้ไปศึกษาเฉพาะเรื่องนั้นๆ

บทเรียนแบบสาขาจะสนองต่อผู้เรียนที่มีพื้นความรู้ดี หรือมีพื้นความรู้เดิมในเรื่องที่กำลังศึกษา หากผู้ออกแบบบทเรียนได้ทำการออกแบบให้ยืดหยุ่น รองรับการข้ามเนื้อหาเมื่อผ่านการทดสอบอย่างอิสระแล้ว บทเรียนลักษณะนี้ จะตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้หลากหลายระดับสติปัญญา

ลักษณะของการเรียนบทเรียนเป็นแบบให้ความรู้ ในแต่ละเรื่องแล้วทำกิจกรรมเช่นเดียวกับแบบเส้นตรง เพียงแต่ผู้เรียนมีสิทธิที่จะไม่เรียนในบางเรื่องที่มีความรู้แล้ว มีสิทธิที่จะข้ามการทำกิจกรรมในส่วนที่มีความรู้ได้ หรือผู้ออกแบบอาจออกแบบเฉพาะให้ผู้เรียนทำเฉพาะกิจกรรมโดยไม่ต้องศึกษาเนื้อหาก็ได้

นอกจากรูปแบบบทเรียนแบบสาขาภาพบนแล้ว บทเรียนสาขายังมีรูปแบบชนิดเลือกเรียนรู้ในบางสาระเนื้อหา โดยอิสระได้อีกด้วย เหมาะสำหรับการเรียนรู้เฉพาะเรื่อง ที่ไม่ต้องมีการวัดผล ประเมินผล ผู้เรียนจะศึกษาเฉพาะเนื้อหาที่สนใจ เหมาะสำหรับกระบวนการศึกษาตามอัธยาศัย


3. บทเรียนสำเร็จรูปแบบผสม (combination program) 
เป็นบทเรียนสำเร็จรูปที่มีรูปแบบผสมผสานทั้งแบบการเรียนรู้เรียงไปตามลำดับ และการเรียนรู้แบบแยกสาขา ซึ่งกลไกก็จะนำลักษณะทั้งสองแบบมาผสมผสานกัน ทั้งนี้ผู้ออกแบบจะพิจารณาลักษณะของเนื้อหาเป็นเกณฑ์ หากส่วนใด จำเป็นต้องมีลำดับการเรียนรู้เป็นขั้น เป็นตอนก็จะใช้รูปแบบเส้นตรงมาใช้ในส่วนของเนื้อหานั้นๆ


องค์ประกอบและการพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการนำเสนอเนื้อหาสาระ ที่เสมือนเป็น ตัวแทนของครู ดังนั้นในการออกแบบเพื่อสร้างสื่อ ครูผู้สอน หรือผู้มีประสบการณ์ในเนื้อหาวิชานั้นๆ เป็นผู้มีส่วนร่วม หรือผู้ดำเนินการ ซึ่งควรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. การนำเสนอเนื้อหา ต้องมีปริมาณพอดีกับหน้าจอแสดงผล
2. โครงสร้างสภาพแวดล้อม(ปุ่มควบคุม ขนาด สีสันและรูปแบบตัวอักษร) ต้องมีความคงที่ ลักษณะคงเดิมไม่เคลื่อนย้ายไปมา
3. สื่อที่สร้างต้องมีความเป็นมัลติมีเดีย เพื่อเร้าในการเรียนรู้ ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
4. มีการประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนโดยทันที ได้แก่ การตัดสิน คำตอบ
5. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัลหรือคะแนน
6. ผู้เรียนสามารถเข้าถึง เลือกทบทวนบทเรียน ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

วิธีการเรียนรู้
แม้ว่า CAI เป็นวิธีการเรียนการสอน ในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยครูสอน แต่ไม่ได้หมายความว่า CAI นี้ จะสามารถทำหน้าที่แทนครูได้ทั้งหมด ครูยังจำเป็นที่ต้องคอยแนะนำ สรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่สำคัญ ครูต้องมีส่วนในการพัฒนา จัดสร้างสื่อ CAI ทั้งในขั้นการออกแบบ การเตรียมเนื้อหา เพี่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการเรียนรู้ในเนื้อหานั้นๆ

ในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI เป็นอีกวิธีการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้ศึกษาเรียนรู้ หรือแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งโดยธรรมชาติของ CAI นี้ มาจากหลักการที่มีการส่งผ่านปริมาณเนื้อหาที่ละส่วน มีกิจกรรมหลากหลาย ที่สามารถตรึงพฤติกรรมต่อการเรียนรู้ มีกระบวนการย้อนกลับเพื่อแสดงผลสัมฤทธิ์ หรือความก้าวหน้าในการเรียนรู้
และเนื่องจาก CAI เป็นวิธีการที่วางอยู่บนสื่อที่ให้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สร้างบทเรียน จะต้องมีส่วนแนะนำการใช้บทเรียน มีส่วนช่วยเหลือที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ซึ่งต้องมาจากการออกแบบในการเข้าถึงควบคุมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ จะทำหน้าที่จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความเป็นมิตร

ซึ่งผู้ออกแบบจะต้อง มุ่งให้ผู้เรียนมากกว่าผู้สอนผู้ออกแบบบทเรียนสำเร็จรูป และผู้สอนจึงต้องจัดสภาพการเรียนให้ผู้เรียน ได้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่วางไว้ ก่อนอื่นผู้สอนควรได้คุ้นเคยกับการใช้บทเรียนสำเร็จรูปเป็นอย่างดี และบูรณาการบทเรียนสำเร็จรูปเข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนแบบอื่น เช่น การบรรยายหรือการอภิปรายได้ เป็นต้น
ก่อนเริ่มเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปครั้งแรก ผู้สอนควรอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจถึงวิธีการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เช่น เขียนคำตอบไว้ในเล่มหรือแยกต่างหากในกระดาษเขียนคำตอบและควรอธิบายให้ผู้เรียนทราบว่า คำถามในบทเรียนนั้นไม่ใช่ข้อทดสอบ ดังนั้นผู้เรียนไม่ควรกลัวว่าจะตอบผิด เพราะไม่เกี่ยวกับการให้คะแนน หรือ ให้เกรดแต่อย่างใดถ้าผู้เรียนตอบผิดโปรแกรมก็จะช่วยให้คำตอบที่ถูกต้อง บทเรียนสำเร็จรูปนั้นมีไว้เพื่อการเรียนไม่ใช่เพื่อการสอน ผู้เรียนควรได้เรียนไปได้ช้าหรือเร็วตามความสามารถของตนเอง ไม่ควรจะเร่งรัดหรือถ่วงให้ช้าโดยผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ถาม เมื่อมีข้อสงสัยอาจเกิดจากความกำกวมหรือผิดพลาดของบทเรียน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแก้ไขบทเรียนให้ดีขึ้นไป
อีกประการหนึ่งควรมีการย้ำให้ผู้เรียนตระหนักถึงความซื่อสัตย์ต่อตนเองโดยไม่แอบดูคำตอบก่อน ควรได้คิดหรือตอบคำถามด้วยตนเองก่อนที่จะดูคำตอบ การแอบดูคำตอบก่อนจะทำให้ผู้เรียนไม่ได้อะไรจากการใช้บทเรียนสำเร็จรูปเพราะผู้เรียนจะเสียโอกาสในการเรียนไป

บทสรุป
แม้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI ที่มีทั้งรูปแบบเต็มเนื้อหาหลักสูตร หรือเนื้อหาเฉพาะบางเรื่องของหลักสูตร ที่ได้ผ่านยุคเฟื่องฟูมาหลายช่วงปี และมีกระแสเกาะติดในวงการศึกษาไทยมาอย่างยาวนาน ช่วงหลังสุด ปี 2549-2551 เป็นอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กระแสของ CAI เป็นที่นิยมสูงสุด เห็นได้จากวงการธุรกิจทำสื่อการสอนด้านโปรแกรม ซึ่งช่วงเวลา 2-3 ปีนั้น CAI ที่ทำจากโปรแกรม Flash ผสมควบคู่กับโปรแกรมจับหน้าจอ เป็นยุคที่เฟื่องฟูมากๆ แต่ในวงการศึกษา ด้านสื่อการเรียนการสอนจริงๆ โดยเฉพาะ Authorware และ Flash กับค่อยๆจางหายไป อันอาจจะมาจากสาเหตุความยากของตัวโปรแกรม ซึ่งปัจจุบันแม้ว่าจะมีโปรแกรมใหม่ๆ มาทดแทน อาทิ Captivate ก็ดูเหมือนว่าครู ยังไม่สามารถเข้าถึงแก่นแท้ของโปรแกรมนี้เท่าใดนัก แต่เชื่อได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอาจจะยังไม่ตายไปจริงๆ สื่อในลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบใหม่ ที่มีเนื้อหาเฉพาะเรื่องสั้นๆ ใช้เวลาสร้างไม่นาน ที่ชื่อว่า Learning Object จะเข้ามาแทนที่ และถึงเวลานั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเต็มหลักสูตร อาจกลับมาอีกครั้ง

Blog : 1.รู้จักบล็อก

Blog : 1.รู้จักบล็อก
รู้จักบล็อกกันก่อน
บล็อก ( blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"

สังคมบล็อก
สังคมบล็อก หมายถึง พื้นที่บนอินเตอร์เน็ท เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพ รูปถ่าย อันส่งผลประโยชน์ แกผู้เข้ารับชม อันนี้คือสิ่งที่จำกัดความหมายของสังคมบล็อก ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผู้ใช้ สามารถที่จะหา ผลประโยชน์จาก บทความที่ตนเอง เป็นผู้นำเสนอ โดยอาจจะมีการ นำเสนอโฆษณา พร้อมๆ กับการนำเสนอ บทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ
อนึ่ง การใช้งานระบบสังคมบล็อก มีเนื้อหาของการนำเสนอ โดยจะต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ผู้นำเสนอ ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ไม่อาจจะทำการสำเนา เอกสารดังกล่าวได้ เพียงแต่สามารถทำการลิงก์เชื่อมโยง เพื่อส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
ความเป็นมาของบล็อกในความเป็นจริงแล้วบล็อกมีมาในช่วงยุคต้นๆของการมีเว็บไซต์เลยทีเดียว(ช่วงประมาณปี ค..1992) โดยบล็อกมีต้นตระกูลมาจากเว็บประเภทหนึ่งที่เรียกว่า  What’s New  ซึ่งในยุคแรกขณะนั้นยังมีเว็บไซต์จำนวนไม่มากนัก เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ภาคพื้นยุโรป (CERN) ได้เป็นผู้เริ่มสร้างเว็บสำหรับนำเสนอข่าวเกี่ยวกับวงการเว็บ รวมถึงแจ้งข่าวสารเว็บไซต์ที่เกิดใหม่ โดยทำในลักษณะเป็นลิงค์ชี้ไปยังเว็บไซต์นั้นๆ และมีคำอธิบายว่ามันคืออะไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง จากนั้นก็มีผู้ทำ What’s New ในลักษณะต่างๆ มากมาย จนถึงปี ค..1997นายจอร์น บาร์เกอร์ (Jorn Barger) เจ้าของเว็บไซต์ http://www.robotwisdom.com/ ซึ่งเป็นเว็บที่มีลักษณะเป็น บล็อก อาจกล่าวได้ว่าเป็นบล็อกรุ่นแรกๆ ก็ได้คิดคำว่า weblog ขึ้นมา

ต่อมาในปี ค..1999 ปีเตอร์ เมอร์โฮลซ์ (Peter Merholz) เจ้าของ http://www.peterme.com/ ประกาศว่า ต่อไปเขาจะอ่านคำว่า weblog ว่า “วี - บล็อก” และจะเรียกสั้น ๆ ว่า blog “บล็อก” เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ยังมีคนใช้บล็อกจำนวนไม่มากนัก และความคิดนี้ ถือเป็นความคิดที่แปลกใหม่น่าสนใจ นับตั้งแต่นั้นมา คำว่า บล็อก จึงกลายเป็นคำที่ได้รับความนิยมไปทั่ว และถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่า weblog นั้นดูจะเป็นภาษาทางการมากกว่าคำว่า blog แต่ก็ยังมีผู้เรียกขาน weblog  อยู่เช่นกัน

ใน ปี ค..1999 เริ่มมีบริการช่วยสร้างบล็อกฟรี ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ได้แก่ http://www.blogger.com/(เวทีที่ท่านกำลังอ่าน) และhttp://www.pitas.com/ ทั้งสองเว็บไซต์เปิดให้บริการแก่สมาชิก ซึ่งจะให้เครื่องมือในการlogger.comสร้างบล็อก โดยจะใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ หากใครที่มีพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์อยู่แล้ว ก็สามารถสร้างบล็อกแล้วนำบล็อกไปเก็บไว้ในพื้นที่จัดเก็บเว็บไซต์ของตนเองได้เลย หรือถ้าไม่มีพื้นที่เก็บเว็บไซต์ ก็สามารถฝากบล็อกไว้กับผู้ให้บริการได้อีกด้วย เมื่อมีเครื่องมือลักษณะนี้มาให้บริการ ทำให้การสร้างบล็อกเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ ผู้สร้างบล็อกเพียงแค่ใส่ข้อมูลอย่างเดียวและไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการสร้างเว็บก็ได้ เลยทำให้วงการบล็อกเป็นที่สนใจ และทำให้มีบล็อกใหม่ ๆ เนื้อหาที่หลากหลายเกิดขึ้นมากมาย



โดยปกติการสร้างบล็อก สามารถสร้างได้ง่ายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของผู้ให้บริการสร้าง Blog ฟรี ซึ่งจะมีเครื่องมือสนับสนุนให้ผู้สร้างเนื้อหาสามารถสร้างสรรงานเขียนได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ปัจจุบันมีที่นิยมหลายแห่ง อาทิhttp://www.blogger.com/ , http://www.wordpress.com/, เป็นต้น
สำหรับบ้านเราหก็นิยมสร้างบล็อกเป็นเครื่องมือช่วยในการประกอบธุรกิจ การค้าผ่านอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนความรู้ออนไลน์ การใช้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร อาทิ http://bloggang.com/http://www.oknation.net/blog/index.php และ http://gotoknow.org/ ลักษณะสำคัญของบล็อก
1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน

2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ
3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวัน เดือน ปี (archive) หรือค้นหาจาก คำสำคัญ (tag) ได้
4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้
5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆอาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวันแนะนำเว็บ,วิเคราะห์ข่าววิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น
6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆและเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆประโยชน์ของบล็อก
ประโยชน์ของบล็อกมีมากมายหลายประการ อันได้แก่
1.เป็นสื่อโษณา ประชาสัมพันธ์
ถือได้ว่าบล็อคเป็นเว็บที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การวางกลยุทธ์การตลาดในแวดวงธุรกิจไม่อาจพึ่งพาแค่ แผ่นพับ ใบปลิว หรือการลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งช่องทางที่กล่าวนับวันยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สูง การใช้บล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเป็นอีกวิธีการที่มีค่าการลงทุนที่ต่ำ แต่สามารถส่งผลทางการตลาดที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในภาครัฐมีหลายแห่งที่ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือ ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานอีกทางหนึ่งด้วย
2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ เฉพาะเรื่อง
ปัจจุบันข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้าสมัย หรือไม่สามารถออกได้ทันตามความต้องการของผู้ที่สนใจ การใช้บล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการสร้างบล็อก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และสามารถเขียนหรือปรับปรุงแก้ไขข้อความที่เขียนได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย จึงมีผู้ที่มีความรู้หลายต่อหลายท่านใช้บล็อกเป็นที่เผยแพร่ความรู้ เช่น
 http://www.blognone.com/ (บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
 http://www.oknation.net/blog/black (บล็อกวิเคราะห์ข่าวของคุณสุทธิชัย หยุ่น)
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา
4. เป็นเวทีการเรียนรู้
นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะเรื่องแล้ว สถานศึกษา หรือครู และบุคลากรทางการศึกษา ยังใช้บล็อก เป็นอีกกลไก หรือเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เนื้อหา เพิ่มเติมจากหลักสูตร หรือเป้นเวทีสำหรับให้ลูกศิษย์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามต่างๆ

สารบรรณ