วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560

25-ตอนที่ 2 : hit stat counter หรือการแสดงสถิติของผู้เยี่ยมชมบล็อก

ตอนที่ 2 : hit stat counter หรือการแสดงสถิติของผู้เยี่ยมชมบล็อก

ตอนที่ 2 : hit stat counter หรือการแสดงสถิติของผู้เยี่ยมชมบล็อก

สวัสดีครับ เพื่อนๆ บทความตอนนี้ เป็นการนำโค้ดตกแต่งบล็อกมาให้เพื่อนๆ ได้เอาไปใช้งานกัน กับบทความส่วน Gadget หรือของตกแต่งบล็อก ตอนที่ 1 ที่ผมแนะนำการแสดงสถิติแบบธงชาติ ซึ่งก็มีจุดเด่นอีกแบบหนึ่ง กับของ HitStat นี้ก็เช่นกันครับ มีจุดเด่นเรื่องรายงานการเข้าชม หรือสถิติ นั่นเองได้ดีพอสมควร ทำให้สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงเว็บบล็อก ได้เช่นกันครับ

วิธีเข้าใช้งานเพื่อสร้างตัววัดสถิติผมมีแนะนำ 2 วิธี คือ เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.histats.com/แต่ส่วนตัวผมจะใช้วิธีไปที่เว็บบล็อกของตัวผมแล้วกดที่ แบนเนอร์ของ hitatat ดังภาพข้างบนตัวอย่างครับ

ภาพนี้เป็นหน้าตาของเว็บเมื่อผมกดที่แบนเนอร์ ซึ่งไม่ใช่หน้าหลัก ส่วนเพื่อนๆ ท่านใดถ้ากดลิงก์ตาม URL ที่ผมให้ไว้ก็จะไปที่หน้าหลักครับ แต่ว่าค่าเท่ากัน เพราะว่าต้องกดที่เมนู "REGISTER" อยู่ดีครับ
กดเมนู "REGISTER" ตามภาพครับ

เมื่อกดแล้วจะเห็นหน้าเว็บดังนี้ แล้วผมจะอธิบายทีละส่วนต่อไปครับ
เนื่องจากการเริ่มใช้งานก็ต้องสร้างบัญชีให้ตัวเองก่อนในส่วนของ Account Info ก็กรอก อีเมล์ของตัวเองที่ใช้งานใน 2 ช่องแรก mail, mail confirm จากนั้นกรอก password (มาถึงตรงนี้ ผมก็ขอแนะนำเพื่อนๆ ว่า ปัจจุบันเรามีการใช้งานอินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก แต่ละเว็บก็ให้สร้างบัญชีทั้งนั้น ดังนั้น เพื่อนๆ ควรมีการจัดการ password อย่างเป็นระบบด้วยนะครับ เพราะผมเองเคยมั่วมาแล้ว ปัจจุบันนี้ ผมไม่มั่ว ไม่ต้องบันทึก จำได้ทุกเว็บไซต์แล้วครับ) ในช่อง password, password confirm ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นว่ามันง่ายมากเลย ไม่มีอะไรยุ่งยาก

ต่อไปเป็นส่วน Site Info
  • ในช่องแรก ต้องนำ URL ของเว็บบล็อกที่เราสร้างมาใส่ไว้เช่นhttp://bloggerbuild.blogspot.com/ เป็นต้น ต้องมี http:// ขึ้นต้นนะครับ
  • ช่อง 2 คือ title หรือชื่อเว็บบล็อก (แต่ส่วนตัวของผม ผมก็อบเอา URL วางเลยครับ เพราะว่าไม่ได้สำคัญอะไร ผมสังเกตดูว่าไม่เห็นมีกลับเอามาใช้งานให้เกิดประโยชน์อะไร แต่ถ้าเพื่อนๆ จะใส่ชื่อให้เรียบร้อยก็ดี นานาจิตตังครับ)
  • ช่อง 3 คือ description แปลว่ารายละเอียดของบล็อก ผมใส่ URL เหมือนเดิม เหตุผลเหมือนข้อ 2 เพื่อนๆ จะกรอกก็ได้ครับ
  • ช่อง 4 page views start value คือ การแสดงจำนวนว่ามีคนคลิ๊กอ่านเนื้อหาของเรากี่หน้าแล้ว มีให้เราใส่ตัวเลขหลอกชาวบ้านว่า เว็บบล็อกเรามีคนเข้ามาดูเยอะมากๆ ใส่เป็นล้านคนก็ได้นะครับ แต่ของผมไม่ใส่เลขอะไรเลย เริ่มต้นที่ศูนย์ครับ (โดยปกติค่าของ page views ต้องสูงกว่า visitors อยู่แล้วครับ)
  • ช่อง 5 visitors start value คือ การแสดงจำนวนว่ามีคนคลิ๊กเข้ามาที่บล็อกกี่คนแล้ว และให้เราเริ่มใส่ตัวเลขเริ่มต้นได้ แต่ผมก็ไม่ใส่อะไรเลข จึงเริ่มที่ศูนย์อีกเช่นกันครับ
ต่อไปเป็นส่วน Time Zone ที่ควรให้ความสำคัญนะครับ ไม่งั้นอาจเกิดอาการหงุดหงิดได้เมื่อเห็นยอดสถิตหลังเที่ยงคืนแล้วไม่เริ่มต้นนับใหม่ในแต่ละวัน
ให้เลือกที่ข้อ 2 Select your time zone จะง่ายที่สุด แต่เพื่อนๆ จะเลือกเวลาจากข้อ 1 หรือ 3 ก็ได้แล้วแต่ถนัดกันครับ ขอให้มี Bangkok ขึ้น เป็นใช้ได้ ตามภาพตัวอย่างครับ
ส่วนต่อมา คือ การเลือกข้อกำหนดของบล็อก ชนิด เลือก blog, Category ผมเลือก Others, Language เลือก english ตามของเดิม และที่ตำแหน่งติ๊กถูกหลัง NOT public stats ผมไม่ไปยุ่งอะไร ครับ
จะเกือบเสร็จแล้วครับในหน้านี้ ที่ตำแน่งข้อ 1 นั้นส่วนใหญ่จะมีติ๊กเครื่องหมายถูกอยู่แล้ว ก็กดที่ตำแหน่ง 2 คือ Continue ได้เลย จะได้ไปสู่ขั้นตอนต่อๆ ไปครับ
  • ในหน้าต่อไป จะมีให้เราเลือกรูปแบบของแบนเนอร์ที่โชว์สถิติครับ เพื่อนๆ สามารถเลือกได้ตามชอบใจ ผมมักเลือกแบบที่มี 4 แถว เพราะใช้งานง่าย คนดูเข้าใจง่าย
  • เมื่อกดปุ่ม Continue จะไปหน้าที่เลือกสี และแบบที่ชอบใจ จากที่เลือกหัวข้อหลักมาแล้ว ผมมักเลือกสีที่เข้ากับสีพื้น หรือสีหลักของบล็อกครับ เช่น สีพื้นสีขาว แต่หัวสี หรือแถบข้างออกโทนน้ำเงิน ผมก็จะเลือกแบนเนอร์แสดงสถิติเป็นสีน้ำเงิน เป็นต้น
  • เมื่อกดปุ่ม Continue จะไปหน้าที่แสดงโค้ดแบบต่างๆ ซึ่งแบบแรกเป็นโค้ด HTMLซึ่งผมใช้โค้ดนี้ ผมก็ copy ไปวางในองค์ประกอบสำหรับ HTML/ Javascript ตามตัวอย่างในของตกแต่งบล็อกตอนที่ 1 ได้เลยนะครับ (ที่ลิ้งค์นี้http://bloggerbuild.blogspot.com/2008/04/19.html ด้านล่างของบทความครับ)
การใช้งาน hitstat นั้นยังมีส่วนที่เพิ่มเติม และแก้ไขข้อมูล รวมทั้งการดูสถิติด้วยครับ ซึ่งผมจะนำมาแนะนำในโกสต่อๆป แต่ถ้าเพื่อนๆ ลองคลิ๊กไปคลิ๊กมา กดเข้าไปดูของตัวเองที่ได้วางแบนเนอร์แล้ว สักพักก็จะใช้งานเพิ่มเติมได้เองครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น