วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560

15-"การตั้งค่า" ตอนที่ 1 : การจัดการข้อมูล "ขั้นต้น"

"การตั้งค่า" ตอนที่ 1 : การจัดการข้อมูล "ขั้นต้น"

 "การตั้งค่า" ตอนที่ 1 : การจัดการข้อมูล "ขั้นต้น"


สวัสดีครับ เพื่อนๆ ผมขอเริ่มซีรี่ส์แนะนำส่วน "การตั้งค่า" ของบล็อกนะครับ มีทั้งสิ้น 6 ตอนนะครับ ตอนแรกก็เริ่มจาก การจัดการข้อมูล "ขั้นต้น" นะครับ โดยผมจะขอแนะนำจากหัวข้อเมนูที่แสดงในแถบ ซึ่งมี 9 หัวข้อให้จัดการ (เรียงจากซ้ายไปขวา) แต่จะมีอยู่ตอนหนึ่งที่รวม 2 และ 3 การจัดการ จึงเหลือ 6 ตอน



เริ่มกันเลยนะครับ
  • เครื่องมือเขียนบล็อก : เป็นหัวข้อใหม่นะครับ ผมจะหาเวลาศึกษา แล้วมาแนะนำเพื่อนๆ นะครับ แต่ถ้าท่านใดเคยใช้แล้ว ก็ช่วยผม และเพื่อนๆ ท่านอื่น โดยแนะนำใน "แสดงความคิดเห็น" ได้เลยนะครับ แต่เท่าที่พอจะเข้าใจก็คือ "นำเข้าบล็อก" น่าจะเหมือนกับโอนย้ายข้อมูลบล็อกอื่นมาไว้เลย ส่วน "ส่งออกบล็อก" คือการเอาบทความทั้งหมดไปที่บล็อกอื่น โอ้โห.........ถ้าใช่อย่างที่คิดนะครับ วิเศษไปเลย เนื่องจากผมมีบทความหลานยบล็อกมาก ที่สำคัญหลายบัญชีด้วย ทำให้การจัดการบล็อกค่อนข้างยาก ถ้ามี 2 วิธนี้ ผมก็สบาย เอาไว้จะลองศึกษาแล้วนำมาฝากนะครับ ส่วนแนสุดท้าย "ลบบล็อก" นี้ชัดเจนครับ ถ้ากดลบบล็อก ก็จะมีเมนูถามว่า แน่ใจนะ ยืนยันนะ ประมาณนี้ (ไม่กล้ากดครับ กลัวหาย)
  • หัวข้อ : ก็ตรงๆ เลยครับ คือ หัวข้อของบล็อืกเรา หรือชื่อบล็อกเรา มาถึงตรงนี้อยากบอกเพื่อนๆ ว่า ครั้งแรกที่เราสร้างบล็อก จะมีให้เราใส่ชื่อบล็อก แล้วผมบอกว่าอย่าซีเรียส ให้ซีเรียสที่ชื่อโดเมนเนมของบล็อก ที่จะกลายมาเป็น URL อันนั้นสำคัญมากกว่า เนื่องจากตรงส่วนนี้ละครับ ที่จะเป็นอีกทาง หรืออีกวิธีที่เราสามารถเปลี่ยนชื่อบล็อืกได้ครับ ส่วนตัวผมชอบ Blogger ตรงนี้ละครับ คือ ในเรื่องๆ หนึ่งที่ต้องจัดการนั้น มีหลายช่องทาง บางอย่างมีถึง 3 ช่องทาง
  • คำอธิบาย : ก็คือคำอธิบายที่อยู่ใต้ "ชื่อบทความ" ทั้ง "ชื่อบทความ" และ "คำอธิบายบทความ" นั้นสำคัญมากนะครับ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเรื่องหนึ่งในการสร้างบล็อกให้ติดอันดับต้นๆ ของการค้นหาจากหน้าของ Google ครับ ซึ่งผมจะได้แนะนำเพื่อนๆ ต่อไปในขั้นที่สูงขึ้นครับ



ต่อไปเป็นส่วนที่เราไม่ควรไปเปลี่ยนแปงดๆ นะครับ เพราะถือว่าระบบเดิม เซ็ทมาไว้ดีแล้ว เป็นลักษณะเหมือนให้เราตัดสินใจว่า "ใช่" หรือ "ไม่" เท่านั้นเองครับ
  • เพิ่มบล็อกของคุณในรายการของเราหรือไม่ : เดิมตอบว่า "ใช่" ก็ควรให้เป็นอย่างนั้นนะครับ เพราะถ้าเราตอบไม่ น่าจะมีเหตุผลเดียว คือเอาไว้ดูเอง เสียโอกาสที่จะเผยแพร่ในโลกอินเตอร์เน็ต
  • อนุญาตให้เครื่องมือค้นหาพบบล็อกของคุณหรือไม่ : "ใช่" ไว้ก่อนครับ ถ้า "ไม่" ก็แสดงว่าไม่อยากให้ใครรู้จักบล็อกเรา (มั้งครับ)
  • แสดงการแก้ไขอย่างรวดเร็วบนบล็อกของคุณหรือไม่ : อันนี้ต้อง "ใช่" สถานเดียวครับ ไม่งั้นเวลาเปลี่ยนแปลง หรืออัพเดทข้อมูลอะไร คุณเหนื่อยแน่ เนื่องจากโดยระบบของ Blogger จะมีสัญลักษณ์ "ประแจไขว่กับไขควง" ซึ่งก็คือเมนูลัดในการจัดการบล็อกนั่นเองครับ

ต่อไปเป็น
  • แสดงลิงก์ส่งบทความทางอีเมล : เหมือนเดิมครับ "ใช่" ไว้ก่อน เพราะมันคือ ลิงก์การส่งบทความทางอีเมล ช่วยให้ผู้เข้าชมของคุณสามารถส่งบทความทางอีเมลจากบล็อกของคุณถึงเพื่อนๆ ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์กับบล็อกของคุณอยู่แล้ว ในการเผยแพร่ครับ
  • มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่หรือไม่ : อันนี้ก็ลองดูเนื้อหานะครับ แต่ของผมไม่มีเนื้อหาผู้ใหญ่ (น่าจะแบบมีบทความเกี่ยวกับทางด้านเพศ หรือมีภาพ หรือความรุนแรง เป็นต้น) ดังนั้น "ใช่" ตามระเบียบครับ

และสุดท้าย เป็น "การตั้งค่ารวม" ของทุกบล็อก
  • แสดงโหมดเขียนบทความสำหรับบล็อกทั้งหมดของคุณหรือไม่ : เช่นเดิมครับ "ใช่" ไว้ก่อน เพราะทำให้เราปรับปรุงบล็อกได้ง่ายขึ้นครับ
  • ใช้การถอดเสียงหรือไม่ : หัวข้อนี้ไม่ทราบจริงๆ ครับ แต่ผมก็ไคยไปแตะต้องเลยนะครับ เนื่องจากสมัยที่เริ่มศึกษาใหม่ๆ ไม่รู้ว่าผมไปแตะต้องอะไรตรงส่วนนี้เข้า ผมปวดหัวมาก เพราะมันคอยจะแปลงภาษาไทยของผมฝเป็นภาษาฮินดูตลอด ทำให้ผมถึงกับต้องย้ายบัญชี (คือว่า ตอนแรกๆ ไม่รู้อะไรเลยครับ ว่ายอยู่ในทะเลบล็อกครับ จึงผิดพลาดมาเยอะ ถึงไม่อยากให้เพื่อนๆ ที่ไม่เก่ง ไม่รู้เรื่องอย่างผม ได้มีโอกาสทราบ รับรู้ถึงการสร้างบล็อก การเขียนบล็อก ได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลา เพราะเวลาของคนเรานั้นมีค่ามหาศาลมากครับ มากกว่าเงินทองเสียอีก)

ตอนจบของบทความนี้ เมื่อเพื่อนๆ มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม ให้กดปุ่มเมนูสีส้ม "บันทึกการตั้งค่า" ด้วยนะครับ ในตอนหน้าของซีรี่ส์นี้ พบกับ การจัดการข้อมูล "การเผยแพร่" นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น